วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์


มจะแนะนำการเลือกซื้ออุปกรณ์ตามสไตล์ของผม ซึ่งบางท่านอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน ซึ่งผมอธิบายในสไตล์ผมมันจะเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายกว่าครับ ไปกันเลยครับ
1.การเลือกซื้อ CPU


 ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้เลือกซื้อซีพียูก่อน ผมขอแบ่งเป็น 3 กลุ่มแล้วกันน่ะครับ และใช้ซีพียูของ Intel มายกตัวอย่างส่วนถ้าคนชอบ AMD ก็หาข้อมูลเทียบรุ่นกับ Intel ดูน่ะครับเช่น celeron ก็เทียบกับ Sampron การเทียบคือความสามารถเทียบเท่ากันแต่ต่างยี่ห้อ รับประกัน 3 ปี หรือง่ายๆก็เหมือนรถ CITY กับ VIOS เป็นต้นครับ 

  กลุ่มที่ 1 ใช้งานด้านออฟฟิศ เล่นเน็ต ดูหนังฟังเพลง ถ้าใช้งานในกลุ่มนี้ก็เลือกใช้ซีพียูที่เป็นพวก celeron 2.8-3.0 Ghz (Ghz คือ ความเร็วในการประมวลผลของซีพียู ยิ่งมากยิ่งเร็วและยิ่งแพง)ราคาจะอยู่หลักพันปลายๆ 

  กลุ่มที่ 2 ดูหนังฟังเพลง แต่งภาพ เขียนแบบ 2D ทำกราฟฟิค แต่ไม่ถึงกับงาน 3D ชิ้นใหญ่จะ Render งานไม่รอด ถ้ากลุ่มนี้ใช้ซีพียูพวก Core Duo 2.8-3.0Ghz

  กลุ่มที่ 3 ทำกราฟฟิคงาน 3D งานตัดต่อ VDO,ภาพยนต์ ทำ STUDIO ห้องอัดเพลง แต่งเสียง เขียนแบบ 3D ควรจะใช้ซีพียู Core 2 Duo 2.8-3.0Ghz ขึ้นไป
ส่วนถ้าอยากรู้ว่า Duo Core กับ Core 2 Duo ต่างกันอย่างไรแล้วผมค่อยมาอธิบายภายหลังน่ะครับไม่งั้นไม่พ้นหัวข้อนี้แน่อิอิ

2.การเลือกซื้อ Mother Board


 หรือที่เรียกสั้นๆ เมนบอร์ด หลังจากที่เราได้เลือกซีพียูแล้ว ก็หาเมนบอร์ดสักตัว โดยคำนึงถึง Socket ถ้าเป็นของ Intel ก็ Socket 775 หรือ AMD ก็ Socket AM2 จากนั้นก็เลือกดู chip set ว่าของบริษัทใด เช่น VIA,SIS,Intel ซึ่งราคาก็ต่างกันด้วยตามการเรียงลำดับ จากนั้นดูว่าการ์ดจอ ออนบอร์ดหรือไม่ แต่ผมว่าถ้างบเหลือซื้อการ์ดจอออนบอร์ดไว้ไม่เสียหายแพงกว่านิดหน่อย เพราะถ้าเราซื้อการ์ดจอนอกใส่เมื่อการ์ดจอเสียก็ส่งเคลมการ์ดจอ แล้วใช้การ์ดจอออนบอร์ดไปก่อนจนกว่าการ์ดจอนอกจะเคลมกลับมา นอกนั้นก็พื้นฐานครับ Port Com,LPT,USB,LAN,IDE,SATA,PCI Slot,PCI Express Slot แต่ต้องดู Bus ของเมนบอร์ดด้วยว่ารองรับซีพียูของเราหรือไม่ เช่น CPU BUS 800MHz เมนบอร์ด Bus 1333 ก็โอเคครับ รับประกัน 3 ปี

3.การเลือกซื้อ RAM


 การเลือกซื้อแรมให้เราดู Bus ให้สอดคล้องกับ CPU เช่น CPU Bus FSB 800 MHz เราก็เลือกซื้อแรมให้รองรับกับซีพียูเพื่อลดปัญหาคอขวด ปัจจุบันความเร็ว Bus ของแรมสามารถรองรับซีพียูได้แล้ว แรมแบ่งออกเป็น 3 ชนิดในปัจจุบัน คือ SD-RAM Bus 100-133 Mhz DDR-RAM Bus 266-400 Mhz DDR2 Bus 533-800 Mhz (Bus คือ เส้นทางการส่งข้อมูลถ้า Bus สูงก็จะทำให้ข้อมูลสามารถผ่านได้มากๆในเวลาอันสั้น เช่น ถนนให้รถวิ่ง ถ้าถนนกว้างรถก็จะสามารถผ่านไปได้จำนวนมากในเวลาที่เท่ากันกับถถนที่แคบกว่า) รับประกัน Lifttime

4.เลื้อกซื้อ Case 



  การเลือกซื้อ Case ควรคำนึงถึงการระบายความร้อนภายในตัวเครื่องเป็นหลักโดยดูขนาดไม่ควรเล็กและพัดลมระบายอากาศภายใน รองลงมาก็ดูถึงพื้นที่การติดคั้งอุปกรณ์ต่างๆสามารถติดตั้งได้ง่ายไม่แคบเกินไป จากนั้นดู power supply ว่าเพียงพอต่ออุปกรณ์หรือไม่โดยทั่วไป power supply 400-450w ก็พอครับ จากนั้นค่อยว่ากันถึงเรื่องความสวยงามของ case ต่อไป 

5.การเลือกซื้อ Harddisk 




  ควรคำนึงถึงปริมาณข้อมูลที่จะเก็บหรืองานที่จะนำไปใช้ เช่น ถ้าคุณประกอบให้ลูกค้าไปใช้งาน ออฟฟิศทั่วไป 160 Gb ก็เหลือเฟือครับที่ให้ 160 Gb เพราะราคา 80Gb ถูกกว่า 160Gb อยู่ประมาณ 200 บาทเราควรเลือก 160 Gb ถ้างานทำวีดีโอก็ควรเลือก 300-500 Gb รับประกัน 5 ปี

6.การเลือก CD-Drive


ปัจจุบันราคา DVD-RW ราคาตัวไม่ถึง 1000 บาทรับประกัน 1 ปีตัวนี้ไม่ต้องคิดมากครับเลือกยี่ห้อที่ชอบมาเลย 1 ตัว รับประกัน 1 ปี

7.การ์ดจอ หรือ VGA-Card 


  การ์ดจอปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ แบบ AGP และ PCI-Express ซึ่งควรคำนึงถึง เมนท์บอร์ดที่เราใช้อยู่ว่ามี slot รองรับการ์ดจอชนิดใด จากนั้นก็ดูแรมของการ์ดจอ เช่น 128Mb 256Mb 512Mb 1Gb เป็นต้นซึ่งถ้าแรมของการ์ดจอมากก็ยิ่งช่วยให้การแสดงผลราบรื่นขึ้นตามไปด้วย แรมในที่นี้ไม่เกี่ยวกับแรมของเครื่องน่ะครับ เป็นแรมที่อยู่บนการ์ดจอเลย ซึ่งมีทั้งชนิด DDR และ DDR2 ซึ่งขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนท์บอร์ดว่ารองรับชนิดไหน รับประกัน 3 ปี

8.การเลือกซื้อพริ้นเตอร์ Printer

 ควรคำนึงถึงงานที่จะนำไปใช้ถ้างานออฟฟิศทั่วไปพริ้นไม่เยอะก็ Ink Ject ตะวละพันกว่าบาท แต่ถ้างานกราฟฟิคก็ควรหรือรุ่นที่มีความละเอียดมากกว่าซึ่งพริ้นเตอร์แต่ละรุ่น ก็จะมีรายละเอียดบอกว่าพริ้นความละเอียดสูงสุดเท่าไหร่ แต่ถ้างานที่ต้องการความคมชัดของเส้นเล็กๆ ความเร็วสูง เช่น งานทำแบบนามบัตรสกรีน งานแบบลายไทย ก็ต้องเป็น Laser Ject รับประกัน 1 ปี

9.SOUND CARD 




  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสังเคราะห์เสียงโดย Sound Card จะเป็นได้ทั้ง Input และ Output ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Input เมื่อนำสัญญาณเสียง ที่ได้จากภายนอกมาประมวลผล และทำหน้าที่เป็น Out Put เมื่อนำข้อมูลที่เก็บในรูปไฟล์ซึ่งมีหลาย Format ต่างๆ กันออกไปมาประมวลผล และส่งออกไปเป็นสัญญาณที่ Output เช่น MPEG, AVI, REM เป็นต้น ขึ้นกับ Software ที่ใช้ ซึ่งจะมีการแปลงข้อมูลจาก Digital (สัญญาณที่ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น 0,1 ซึ่งอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูล) ไปเป็นสัญญาณ Analog (สัญญาณที่ต่อเนื่องกัน เช่น สัญญาณเสียง) ส่งสัญญาณผ่าน Out Port เพื่อให้เกิดเสียง
  ในปัจจุบันมี Main Board บางรุ่นที่ Build in Sound Card ในตัว โดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ โดยทั่วไป Sound Card จะใช้ 16 Bits ซึ่งใช้ ISA Bus เนื่องจากอุปกรณ์ชนิดนี้ ไม่ต้องการความเร็วที่สูงมาก และบางประเภทที่ใช้ระบบบัสเป็น PCI ซึ่งเป็น Sound Card ที่มีราคาสูง
10.การเลือกซื้อ Monitor



 จอภาพที่ใช้แสดงข้อมูลหรือโปรแกรม เป็นอุปกรณ์ OUTPUT อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันจอภาพให้หลายขนาด ได้แก่ 14 นิ้ว 15 นิ้ว 17 นิ้ว และ 19 นิ้ว และมีหลายแบบให้เลือก ทั้งจอภาพธรรมดา (CRT จอใหญ่เหมือนทีวี อ้วน) หรือจอภาพแบน แอลซีดี (LCD จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) ถ้าพื้นที่โต๊ะทำงานแคบๆ ควรใช้แบบ LCD ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า CRT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น