วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

[สาระ] มาเตรียมตัวสอบ TOEIC กันเถอะ

[สาระ] มาเตรียมตัวสอบ TOEIC กันเถอะ

สวัสดีครับ เพื่อนๆชาวบล็อกเกอร์ทุกท่าน เห็นจั่วหัวแปลกๆแบบนี้ ดูยังไงก็ไม่น่าใช่บล็อกของ Der Kaiser เนาะ *0*/

แต่ท่านเข้ามาไม่ผิดบล็อกหรอกครับ ที่นี่ยังเป็นบล็อก Ren-Ai Universe ที่เดิมนั่นแหละ เพียงแต่บังเอิญเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีโอกาสได้ประลองทักษะกับสนามสอบแห่งหนึ่งที่มีผลต่ออนาคตหลังเรียนจบเป็น อย่างมาก ดังนั้น เลยตั้งใจจะเขียนบทความพิเศษชิ้นี้ขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนะนำ กลยุทธ์ต่างๆสำหรับการทำข้อสอบสนามนี้มาให้ได้อ่านกันครับ

TOEIC คืออะไร ?



TOEIC นั้นย่อมาจาก Test of English for International Communication หรือที่ภาษาไทย(ในสนามสอบ)เรียกว่า แบบทดสอบสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษอะไรสักอย่างเนี่ยแหละ แต่พูดง่ายๆก็คือ เป็นข้อสอบประเภทหนึ่งที่ใช้ทดสอบความสามารถของผู้สอบในการสื่อสารภาษา อังกฤษ โดยเฉพาะในบริบทของการทำงาน ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่ปัจจุบัน หากเราจะไปสมัครงานที่บริษัทใหญ่ๆอย่าง ปตท. หรือ เครือซีเมนต์ไทย เราจะต้องยื่นผลคะแนน TOEIC ตัวนี้แนบไปด้วย เพราะบริษัทเหล่านี้จะกำหนดไว้เลยว่า นอกจากเกรดและวุฒิการศึกษาแล้ว เจ้า TOEIC นี่ก็เป็นเอกสารอีกชิ้นหนึ่งที่"ห้ามขาด" ไม่งั้น ไม่รับพิจารณา

ลักษณะของข้อสอบ TOEIC

ข้อสอบ TOEIC นั้นจะแบ่งการวัดทักษะของผู้สอบออกเป็น 2 อย่างก็คือ การฟัง และ การอ่าน อย่างละ 100 ข้อโดยแต่ละส่วนจะมีคะแนนเต็มให้ 495 คะแนน เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้วก็จะเท่ากับว่า คะแนนเต็มของ TOEIC คือ 990 คะแนน เมื่อเข้าสอบ ผู้สอบจะต้องเริ่มทำข้อสอบในส่วนของการฟังเสียก่อน ใช้เวลาประมาณ 45 นาที โดยผู้คุมสอบจะเปิดเทปให้ฟังเรียงลำดับดังนี้

1. บรรยายภาพ 10 ข้อ ในชุดคำถาม ผู้สอบจะได้ดูภาพ 10 ภาพโดยไม่มีตัวเลือกอะไรมาให้ด้วย เพราะเราจะได้ยินตัวเลือก a,b,c,d, ของแต่ละข้อผ่านเทปเพียง 1 ครั้งเท่านั้น

2.การถาม-ตอบ แบบสั้นๆ 30 ข้อ ในโซนนี้ จะไม่มีทั้งคำถามและคำตอบอยู่ในกระดาษคำถามเลย ผู้สอบจะต้องฟังทั้งคำถามและเลือกคำตอบที่เหมาะสมกับคำถามนั้นจากการฟัง เพียงอย่างเดียว โดยจะมีตัวเลือกให้ 3 ข้อ a,b,c

3.การสนทนาแบบสั้นๆ 30 ข้อ ในโซนนี้ จะเป็นการฟังบทสนทนาของคน 2 คนในสถานการณ์ต่างๆเช่น โวยวายเรื่องสินค้าเจ๊งจะขอคืนเงิน บ่นเรื่องรถติดไปทำงานไม่ทัน เป็นต้น ผู้สอบจะได้อ่านคำถามจากในกระดาษคำถาม บทสนทนาละ 3 ข้อ แล้วเลือกตอบคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

4.บทความแบบยาว 30 ข้อ เป็นโซนสุดท้ายของการสอบฟัง ผู้สอบจะได้ฟังบทความแบบยาวในรูปแบบของ ประกาศ โฆษณา การนำเที่ยว แล้วนำข้อมูลที่ได้มาตอบคำถามบทความละ 3 ข้อ

ต่อมา เมื่อเทปจบ ผู้คุมจะบอกให้เราเริ่มทำข้อสอบพาร์ทการอ่านทันที โดยมีเวลาจำกัดเพียง 75 นาที แต่มีข้อสอบรอเราอยู่ถึง 100 ข้อ ซึ่ง 40 ข้อแรกจะเป็นการทดสอบเรื่องไวยากรณ์ของเรา ต่อด้วยอีก 12 ข้อกับการเติมคำในช่องว่าง และสุดท้ายอีก 48 ข้อคือ การอ่านบทความ โฆษณา ต่างๆรวมทั้ง อีเมล จดหมายสมัครงาน ด้วย

เอาล่ะ ... นั่นเป็นการอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับ TOEIC ที่สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ทั่วไปหากยังไม่เข้าใจนะครับ ส่วนข้างล่างนี้จะเป็นการเล่าประการณ์ของผมในการสอบตั้งแต่เตรียมตัวไปจนถึง รับผลสอบเลย เผื่อจะมีประโยชน์ต่อใครหลายคนที่ต้องผ่าน TOEIC ก่อนจะได้งานดีๆครับ

การเตรียมตัว

จริงๆต้องบอกกันก่อนว่า ก่อนหน้านี้ผมสอบ TOEIC มาแล้วครั้งนึง แต่เกณฑ์ยังไม่ถึงตามที่ทาง ปตท. กำหนดคือ 700 คะแนน ดังนั้นก็เลยต้องไปสอบใหม่ตามระเบียบ ซึ่งคราวนี้ผมได้พยายามงัด Know How ความผิดพลาดจากครั้งแรกมาปรับปรุงกลยุทธ์การเตรียมตัวจนแทบจะเรียกว่ายก เครื่องใหม่ เริ่มจาก

1. หาหนังสือติวหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เนื่องจากครั้งก่อน ผมอาศัยแค่ลองทำข้อสอบออนไลน์กับหนังสือรวมตัวอย่างข้อสอบแค่เล่มเดียว ทำให้โอกาสฝึกฝนในแต่ละวันไม่หลากหลายพอ ดังนั้นในคราวนี้ ผมจึงพยายามหาซื้อหนังสือต่างๆเกี่ยวกับการเตรียมสอบ TOEIC มาหลายเล่มมากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งติวด้านการฟัง อ่าน แล้วก็ไวยากรณ์

ไม่ได้ค่าโฆษณา แต่ผมจะบอกว่า ผมใช้หนังสือของ TGRE ทั้ง 3 เล่มตามรูปข้างล่างเลยครับ



สิ่งสำคัญสำหรับการทำข้อสอบ TOEIC นั้น อันดับแรกเลยคือต้องคุ้นเคยกับข้อสอบเพื่อลดเวลาในการนั่ง มึน งง กับมัน และคุ้นเคยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องแม่นในสิ่งที่โจทย์ถามด้วย เห็นช่องที่เว้นไว้ คุณต้องสามารถบอกได้ทันทีว่า คำที่ควรเติมควรเป็น นาม กริยา หรือ บุพบท วิเศษณ์ อะไรก็ว่าไป หนังสือทั้ง 3 เล่มด้านบนนั่น ผมแนะนำจริงๆนะ เพราะนอกจากจะมีข้อสอบให้ลองทำหลายชุดพร้อมด้วยแบบฝึกหัดในแต่ละส่วนเป็น จำนวนมากแล้วโจทย์ในหนังสือยัง"ยาก"กว่าข้อสอบจริงมากด้วยครับ โดยเฉพาะส่วนการฟังที่ในหนังสือฝรั่งแมร่งพูดโคตรเร็วจนจับใจความแทบไม่ทัน ถ้าฝึกกับเล่มนี้บ่อยๆจนคุ้นเคยกับความเร็วนั่น รับรองครับ คุณไปเจอข้อสอบจริงจะรู้สึกว่าโจทย์พูด"ช้า" และ "ชัด" มากๆเลยล่ะ

การทำข้อสอบในทั้ง 3 เล่มนั้นทุกๆวัน นอกจากจะทำให้แม่นไวยากรณ์มากขึ้นเพราะต้องเจอกับโจทย์ที่พลิกแพลงบ่อยๆแล้ว ยังช่วยให้เราเกิดความคุ้นเคยกับรูปแบบของข้อสอบไปพร้อมกันด้วย และนอกจาก 3 เล่มข้างบนแล้ว ผมก็แนะนำให้

2.เปิดเว็บหาข้อสอบออนไลน์ TOEIC ลองทำดูด้วย ซึ่งปัจจุบันห็มีหลายแห่งที่เปิดให้บริการตรงนี้ แต่ที่ผมใช้ประจำก็คือ CLEVERLEARN (http://www.cleverlearn.com/toeic/main.jsp) ซึ่งจะมีข้อสอบฟังหลายชุดมาก พร้อมด้วยการลองทำข้อสอบแบบเต็มๆ 200 ข้อ ซึ่งมีการตรวจให้คะแนนในตอนท้ายด้วย อันนี้เรียกว่าได้ลองติวฟรีไม่เสียเงิน เป็นโอกาสที่เด็กรุ่นไซเบอร์อย่างเราไม่ควรมองข้ามเลยล่ะครับ

นอกจากนั้น สำหรับการลองทำแบบทดสอบการอ่าน แนะนำว่าให้ทำแบบจับเวลา 75 นาทีด้วยนะครับ เพราะในสนามจริง คุณต้องควบคุมความกดดันกับเวลาที่จำกัดด้วย ดังนั้น ฝึกอยู่กับมันซะตั้งแต่ก่อนสอบ เข้าไปจะได้ไม่ตื่นสนามเพราะมันครับ อ้อ พูดถึงตรงนี้ก็นึกได้ เล่มข้างบน(อีกแล้ว) มีพาร์ทการอ่านที่โหดมาก ข้อความเยอะกว่าข้อสอบจริงอีก อ่านกันตาเหลือกจนบางทีทำไม่ทัน 75 นาทีก็มี แต่ก็นั่นแหละ เพราะได้เจอของหินๆก่อนสอบและฝึกบริหารเวลากับมันได้ ทำให้ผมสามารถทำข้อสอบในสนามจริงได้ภายใน 1 ชั่วโมงและมีเวลาเหลือตรวจทานอีก 15 นาทีด้วยครับ

ขั้นตอนการสอบ

ก่อนอื่น ให้เราโทรไปสมัครที่ 0-2260-7061 หรือ 0-2260-7189 ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันก่อนสอบ สิ่งที่เขาจะขอข้อมูลเราไปก็คือ ชื่อ นามสกุล วันเกิด เลขที่บัตรประชาชน จากนั้นก็คือเอกสารที่ต้องเตรียม ก็มีแค่เงินค่าสอบ 1200 บาท กับ เอกสารยืนยันตัวของเราก็คือ บัตรประชาชนนั่นแหละ โดยการสอบ TOEIC จะมีจัดทุกวันจันทร์ - เสาร์ วันละ 2 รอบคือ เช้า 9.00 น. และ บ่าย 13.00 น. ที่ อาคาร BB แถวอโศก สำนักงานตั้งอยู่ชั้น 19 ห้อง 1906 ครับ

จากนั้น เมื่อถึงวันสอบก็ให้เราเดินทางไปให้ถึงสนามสอบก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อทำการเช็คอินเข้าสอบและชำระเงิน ซึ่งการเดินทางก็ง่ายแสนง่ายเพราะสามารถไปได้ทั้งBTSและรถใต้ดิน โดยที่เคาน์เตอร์ พนักงานจะถ่ายรูปเราเอาไว้แปะลงบัตรสอบและใบรายงานผล

หลังจากเสร็จพิธีกรรมเช็คอิน เราจะมีเวลาว่าง 45 นาทีในการทำใจและทำธุระส่วนตัว เพราะเมื่อถึงเวลา 12.45 น. (ผมสอบรอบบ่าย) ผู้เข้าสอบจะต้องมาเข้าแถวหน้าห้องเพื่อให้เจ้าพนักงานตรวจเช็คร่างกาย จริงๆ ไม่ได้พิมพ์ผิด ทุกคนจะต้องเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกงมาถือไว้ให้หมด และถ้ามีบัตรอะไรในกระเป๋าตังค์ก็ต้องดึงออกมาแสดงให้หมด !! ใครมีบัตรเก็บไว้ในกระเป๋าตังค์เยอะจะโคตรเซ็งกับขั้นตอนนี้มากเพราะขนาด เหรียญบาทกับแบงค์ มันก็ยังจะดู !!! =[]="

ไม่จบ ก่อนจะเข้าห้อง ทุกคนยังจะต้องผ่านเครื่องเซ็นเซอร์ของเจ้าหน้าที่เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มี ไอเทมสำหรับทำการทุจริตเล็ดรอดเข้าไปได้ เข้มจริงๆครับพ่อแม่พี่น้อง ...

ระหว่างการสอบ

ในส่วนของพาร์ทฟัง ก่อนอื่นผมอยากให้ทุกคนตั้งใจก่อนเริ่มทำข้อสอบว่า"ฉันจะเก็บเนื้อความทุก ข้อให้ได้หมด" ไว้ก่อนเลย เพราะพูดกันตรงๆ พาร์ทฟังนี่เป็นส่วนที่มีคะแนนเยอะมาก เทียบกันข้อต่อข้อ ทำพาร์ทฟังถูก 1 ข้อจะได้มากกว่าการอ่านอีกครับ ถึงคะแนนเต็มจะเท่ากัน แต่ในระหว่างข้อ 1-100 การ Convert คะแนนจะให้สัดส่วนของพาร์ทฟังสูงกว่าพาร์ทอ่านอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทำฟังและอ่านได้อย่างละ 70 ข้อ คุณอาจได้พาร์ทอ่านแค่ 330 / 495 แต่ฟังจะได้ถึง 370 /495 เลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่อยากให้ปล่อยผ่านมันไปนะครับ

สำคัญคือตั้งใจฟังดีๆพร้อมกับเอาดินสอจี้ไปตามข้อที่เทปกำลังพูดด้วย มันพูดข้อ เอ เราก็จี้ที่เอ มันไปบี เราก็ไปจี้ที่บี จนกว่าจะเจอข้อที่ถูกค่อยฝน วิธีนี้จะช่วยให้เราตามข้อสอบได้ทัน ไม่สับสนครับ

ซึ่งจุดสำคัญที่ผมอยากจะย้ำสำหรับการฟังก็คือ 60 ข้อสุดท้ายที่เป็นบทสนทนาสั้นๆกับบทความแบบยาว ก่อนเทปจะเริ่มพูด คุณต้อง"อ่านโจทย์"มันล่วงหน้าก่อนนะครับ ทำความเข้าใจกับโจทย์ซะก่อนว่าเขาถามอะไร ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่า จะต้องฟังเพื่อรู้ข้อความในส่วนไหน

เช่น โจทย์ถามถึง วันพรุ่งนี้ อากาศจะเป็นอย่างไร

ถ้าเราไม่อ่านโจทย์ก่อน เราก็จะต้องทำโจทย์ไปพร้อมกับเทปพูดซึ่งจะทำให้ไม่สามารถใช้สมาธิกับการฟัง ได้อย่างเต็มที่ คือ ต้องอ่านโจทย์ด้วยฟังด้วย สุดท้ายก็คือ อ่านโจทย์ทันแต่คำตอบมันพูดไปแล้ว ดังนั้นแนะนำว่า อ่านโจทย์ให้เข้าหัวไว้ก่อนเลย แล้วพอเทปพูดก็ตั้งใจฟังอย่างเต็มที่ จะทำให้เก็บคะแนน 60 ข้อของทั้ง 2 พาร์ทนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นเลยครับ

แล้วก็ ข้อสอบไม่ได้ห้ามให้เราทำเครื่องหมายไว้หลังข้อที่ถูก ดังนั้น ถ้าฟังแล้วได้ยินว่าข้อนี้ถูก ไม่ต้องเกรงใจข้อสอบครับ ขีดเส้นไว้หลังข้อนั้นเลยแล้วค่อยฝนลงบนกระดาษคำ ตอบหลังจบบทพูด ซึ่งในระหว่างกำลังจะเปลี่ยนบทพูดนั้น เทปจะอ่านโจทย์ของบทสนทนาที่เพิ่งจบไปให้เราฟังซ้ำอีก 1 รอบซึ่งจะกินเวลานานโขพอตัว หากเราอ่านโจทย์ + ขีดคำตอบไว้ก่อนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาซ้ำ ใช้เวลาขณะที่เทปอ่านคำถามนั้นไปเตรียมตัว 3 ข้อต่อไปได้เลย หรือถ้ากลัวว่าจะกาผิดข้อ การขีดเส้นช่วยได้ครับ เพราะเราสามารถเช็คได้ว่าข้อนั้นๆเราฝนตรงกับคำตอบที่เราขีดไว้ในกระดาษคำ ถามรึเปล่า เรียกได้ว่า ประโยชน์ 2 เด้งเลยครับ

มาถึงพาร์ทอ่าน โดยมาก รูปแบบวิธีทำพาร์ทนี้จะมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆด้วยกันคือ

1. ทำ 48 ข้อสุดท้ายที่เป็นการอ่านบทความก่อนแล้วค่อยย้อนมาทำไวยากรณ์ที่เป็นการเติมคำ 52 ข้อทีหลัง

2. ทำไวยากรณ์ 52 ข้อก่อนแล้วทำการอ่าน

ในการสอบครั้งแรก ผมเลือกทำแบบแรกครับเพราะคิดว่าการอ่านน่าจะใช้เวลาตีความเยอะ ซึ่งมันก็จริงอยู่ แต่ความจริงต่อจากนั้นที่ผมไม่รู้คือ พออ่านเยอะมันจะทำให้เรามึนจนเล่นกับไวยากรณ์ผิดๆถูกๆ ดังนั้น พอมารอบนี้ผมเลยเปลี่ยนไป เลือกทำไวยากรณ์ก่อนแบบคร่าวๆ คือ พิจารณาคำตอบแล้วกากบาทไว้บนช่องคำตอบเฉยๆโดยยังไม่ฝนดินสอ เพราะการฝนดินสอแต่ละข้อนีแหละเสียเวลามาก การที่เราจะกำจัด 52 ข้อแรกก่อน แล้วใช้เวลาที่เหลือกับการอ่านแบบสบายใจที่ดีที่สุดก็คือ ดึงคำตอบมันออกมาแปะบนกระดาษคำตอบไว้ซะก่อนค่อยกลับมาฝนอย่างเป็นทางการนี่ แหละครับ ลองจับเวลาดูแล้ว วิธีนี้ใช้เวลาแค่ไม่ถึง 10 นาที ด้วยซ้ำ นั่นเท่ากับว่าอีก 1 ชั่วโมงคือเราใช้กับพาร์ทอ่านล้วนๆได้เลย

ในส่วนของพาร์ทอ่าน แน่นอน อย่าไปเกรงใจข้อสอบครับ วง ขีดเส้นโยงได้เต็มที่ ถ้ามันจะทำให้คุณเข้าใจเนื้อความได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และหากเจอโจทย์ประเภท "ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงในบทความ" แนะนำว่า อ่านแล้วขีดฆ่าตัวที่เจอกล่าวถึงในบทความออกไปเลยครับ ตัดได้ 3 ตัวก็เจอคำตอบแล้ว

ในระหว่างการสอบ ผู้คุมสอบจะประกาศให้ทราบทุกครั้งว่าเหลือเวลาอีกเท่าไรเช่น อีก 30นาที 15 นาที 5 นาที และ หมดเวลา แนะนำว่าพอถึงราวๆ 5 นาที ให้เริ่มตรวจทานคำตอบด้วยนะครับว่าเราฝนตรงทุกข้อแน่นะ เพราะบางทีการทำเร็วไปอาจจะทำให้เราวืดข้อที่ง่ายๆเพียงเพราะฝนเลื่อนช่องไป อย่างน่าเสียดาย และเมื่อหมดเวลา ห้ามทำอะไรต่อเด็ดขาด ผู้คุมจะดุมากพอถึงตอนนี้ ชนิดว่ากัดได้มันคงกัดคนเข้าสอบไปแล้ว เขาเข้มงวดจริงๆครับ หมดเวลาคือห้ามทำอะไรต่อจริงๆ วางดินสอก็คือต้องวางเลยล่ะ

การรับผลสอบ

หลังสอบเสร็จ หากผู้เข้าสอบต้องการมารับผลสอบเองก็สามารถมาได้ในวันรุ่งขึ้นหลังจากสอบ เสร็จได้เลย แต่ถ้าไม่สะดวก ทางศูนย์มีบริการจัดส่งแบบ EMS ให้โดยจะถึงประมาณวันมะรืนหลังสอบครับ วิธีนี้เสียค่าบริการ 50 บาท แต่สบายดีอ่ะ และไม่มีการสอบถามผลทางโทรศัพท์ ดังนั้นไม่ต้องโทรไปถามกันนะเธอว์ ...

ผลสอบ

ลักษณะของใบรายงานผลจะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมผืนผ้ามีรูปถ่ายของเราแล้วก็ชื่อ วันเดือนปีเกิด หมายเลขประจำตัวประชาชน บลาๆ อยู่ทางด้านซ้าย ส่วนทางขวาก็จะเป็นคะแนนของเราทั้ง พาร์ทฟังและอ่าน ปิดท้ายด้วยคะแนนรวมซึ่งเป็นช่องใหญ่ทางขวาสุด แบบนี้



ก็ยัง งง ตัวเองเหมือนกันว่าทำไปได้ไงตั้ง 835 แต่มาคิดๆดู อาจจะเพราะวางแผนทำข้อสอบได้ดีขึ้นแล้วก็ฝึกฝนกับโจทย์ยากๆจนชิน ทำให้พอเจอของจริงที่ง่ายกว่าเลยทำได้สบายขึ้น

เท่านี้ โอกาสเข้า ปตท. ก็พอเป็นไปได้มากขึ้นละ เหลือแค่ทำวิทยานิพนธ์ให้จบ ป.โทเร็วๆเท่านั้น เย้ !!

ป.ล. ปัจจุบัน ข้อสอบ TOEIC เป็นรุ่นใหม่ที่เรียกว่า Re-Design ซึ่งจะมีความแตกต่างจากของเดิมคือ

1. ในพาร์ทฟัง จะลดส่วนของการบรรยายรูปภาพลงจาก 20 ข้อเหลือ 10 ข้อและไปเพิ่มส่วนสุดท้ายคือ บทความยาว เป็น 30 ข้อ แทน (สัดส่วนเก่า 20-30-30-20 / สัดส่วนใหม่ 10-30-30-30)

2. ในพาร์ทการอ่าน ได้เปลี่ยนส่วน Error Recognition เป็นการเติมคำในช่องว่าง 12 ข้อ แทน

แต่ยังไงก็ตาม ในการฝึกซ้อม สามารถใช้ได้ทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ครับ ทุกอย่างมีประโยชน์กับตัวคุณแน่นอน

ขอให้โชคดีทุกท่านครับ *0*/

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากๆๆเลยค่ะ ตอนนี้คงได้ทำงานที่ ปตท . แล้วแน่เลย อิอิ

    ตอบลบ
  2. อยากทำงาน ปตท. ต้องมีเส้นมั๊ยอ่ะคะ บีไม่มีเส้นเลย

    ตอบลบ